วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีการใช้ Snagit โปรแกรมจับภาพหน้าจออย่างละเอียด

<< Snagit Tutorials >> 
เขียนโดย คุณ ตี๋บ้านบึง
 
ผมกำลังศึกษาวิธีการใช้ Snagit อย่างละเอียด  จึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่สำหรับมือใหม่โดยเฉพาะ  แต่มือเก่าก็สามารถนำไปใช้ดูเพิ่มเติมได้ครับ  ทั้งหมดนี้ผมเรียบเรียงมาจาก Snagit Tutorials ของเว็บผู้ผลิตครับ  รวมทั้งอ่านจาก Help ประกอบไปด้วย  ยาวพอดูเหมือนกัน  ผมจะทยอยลงมาให้แฟนนานุแฟน (ขอยืมสำนวนต่วยตูน) ทั้งหลายได้ศึกษาไปพร้อมกับผมนะครับ  ตามสไตล์ของผมครับ  คือ สูงสุดย่อมคืนสู่สามัญ  ภาษาประกิตเขาว่า Simplicity is the best  คติของผม  ยากๆไม่  ง่ายๆทำ  เหอๆๆๆ

Tutorial ชุดนี้สำหรับเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไป  แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
1. Capture Tutorials
2. Edit Tutorials
3. Organize Tutorials


ผมจะเริ่มจากภาคแรกก่อน Capture Tutorials  เริ่มบทเรียนแรกเลยครับ ...แอ่น แอน แอ๊น....

บทเรียนที่ 1 ภาพรวมของโปรแกรม แบ่งออกเป็น 5 ส่วนดังนี้

1. Capture Profiles -- เป็นการจับภาพสำเร็จรูปที่โปรแกรมจัดเตรียมให้พร้อมใช้งานในลักษณะต่างๆกัน
2. Capture Settings -- คือการตั้งค่าและเลือกคุณสมบัติต่างๆของการจับภาพให้เหมาะสม  และตรงกับความต้องการของเราครับ
3. Capture Button -- คลิกเพื่อจับภาพหรือจะใช้ Hot Key  โดยค่าดีฟอล์ทคือ Shift+Ctrl+P เราสามารถจะเปลี่ยนค่านี้เป็นปุ่มอะไรก็ได้
4. Edit Tab -- โหมดเครื่องมือสำหรับการตกแต่งภาพทั้งหมดของโปรแกรม  เมื่อคลิกเข้าไปจะมี 3 หมวด  คือ Editor, Studio
& Batch Conversion Wizard

5. Orgainize Tab -- เป็นเครื่องมือในการจัดการภาพที่จับมาจากหน้าจอ  เพื่อนำไปใช้งานตามประเภท  แบ่งเป็น Catalog Browser, Web Page Creator & Snagit Printer Capture
ดูตามรูปไปก่อนนะครับ  แล้วเดี๋ยวค่อยเข้าไปเจาะลึกกันในแต่ละส่วนต่อไป




บทที่ 2 คุณลักษณะของการจับภาพในแบบประเภทต่างๆ

มาดูรายละเอียดในส่วนของ Capture Profiles  ซึ่งเป็นโหมดการจับภาพสำเร็จรูปดังที่กล่าวมาแล้วครับผม  เจ้า Capture Profiles นี้ดูจากรูปแล้วจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ฺBasic Capture Profiles -- เป็นการจับภาพที่เราใช้มากที่สุดหรือเป็นประจำในการจับภาพ  มี 6 ชนิดให้เลือกใช้
2. Other Capture Profiles -- เป็นการจับภาพที่ใช้งานรองลงมาจากข้อ 1  มี 6 ชนิดเช่นกันครับ

ส่วน My Profiles และ Imported Profiles นั้นเป็นชนิดการจับภาพที่เราสร้างขึ้นจากส่วนผสมและการตั้งค่านอกเหนือจากทั้ง 2 ข้อดังกล่าว  จึงจะกล่าวถึงในภายหลัง



และนี่คือรูปตัวอย่างในแต่ละ Profile ของ Basic Capture



Other Captures
ผมบอกตามตรงว่า Capture Profiles ภายใต้หัวข้อนี้  ผมลองใช้แค่ 2 ชนิดเท่านั้น  คือ A Freehand Region และ Text from a Window  ที่เหลือยังไงผมจะลองดูแล้วจะโพสต์อีกครั้งภายหลังครับ



ตัวอย่างรูปที่จับ  อย่างที่บอกครับ  ตอนนี้ผมใช้แค่ 2 อย่างรูปเลยมีแค่นี้



อย่าลืมนะครับ  หลังจากที่คุณใช้โปรแกรมจับภาพแล้วปิดโปรแกรมไป  เมื่อเปิดใหม่มันจะจำ Profile ครั้งหลังสุดที่คุณใช้ก่อนที่จะปิดโปรแกรม  ดังนั้นเมื่อคุณจะเริ่มใช้มันจับภาพ  ควรจะเช็คก่อนว่ามันกำลังอยู่ใน Profile ไหน

มาตอนนี้เราจะกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนการตั้งค่า Capture Setting  ซึ่งเป็นหัวใจของการจับภาพ  ทำให้รูปที่เราจับมาเป็นแบบที่เราต้องการ  ส่วนประกอบในหัวข้อนี้แสดงอยู่ในรูปครับ



ในส่วนที่ 1  Capture Profile คือรูปแบบการจับภาพที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนแรก

ส่วนที่ 2  Hotkey คือคีย์ลัดที่เรากำหนดขึ้นเองในการสั่งงานจับภาพ  เราสามารถเปลี่ยนแปลงโดยการเลือกที่เมนู Tools >> Program Preferences ดังรูป



หัวข้อที่ 3  Capture Mode แบ่งเป็น 4 ชนิด  ซึ่งเราสามารถเลือกได้โดยการคลิกที่ไอคอน

1. ภาพ (Image Capture)
2. ตัวหนังสือ (Text Capture)
3. ภาพเคลื่อนไหว (Video Capture)
4. เว็บเพ็จ (Web Capture)



หัวข้อที่ 4  Input & Properties  ดูรายละเอียดตามภาพเลยครับ



หลังจากเราได้ทราบว่าในส่วน Input มีรายละเอียดอะไรแล้ว  เราก็มาดูรายละเอียดในส่วนของ Properties กันต่อไปครับ

รูปที่ 1 ของ Input Properties ประกอบด้วย General & Fixed Region Tab



รูปสุดท้ายของ Input Properties มีอีก 3 Tabs ด้วยกัน  คือ Menu Scrolling & Scanner & Cameras Tab



จาก 2 รูปที่ผ่านมา  เราจะเห็นว่า Input Properties Dialog box จะมีทั้งหมด 5 Tabs ให้ปรับใช้  ถ้าอยากจะลองใช้ก็ปรับใช้ดูนะครับ  แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่เป็นไร  เพราะส่วนมากโปรแกรมมันก็ตั้งค่า Default มาให้เราอยู่แล้ว

มาดูหัวข้อที่ 5 กันครับ  Output Properties
ในส่วนนี้คือการนำภาพที่ได้จากการจับภาพมาใช้  ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำภาพที่ได้ไปทำอะไร  โดยมีรายละเอียดตามรูปซึ่งผมจับภาพมาจาก Help  พร้อมทั้งใส่รายละเอียดภาษาไทยอย่างคร่าวๆว่า แต่ละแบบนั้นจะนำไปใช้แบบไหนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น